" การฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น และการบูณาการทุนชุมชน"

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน ตำบลดอยงาม...กับบทเรียนและองค์ความรู้ที่ได้รับ


หลักคิด/ความเป็นมา/สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
            ตำบลดอยงามมีอาชีพหลักคือการทำการเกษตร   ทำนาข้าว พริกแด้ปลา   ลำไย  แต่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปสังคมเป็นสังคมมี่ต้องคำนึงปากท้องเป็นหลัก  เร่งรีบรวมถึงคนเราชอบความสบาย  มีค่านิยมเรื่องความรวดเร็วของผลผลิตและ  หวังความรวดเร็วต้นทุนทางการผลิตสูง  แต่ราคาตกต่ำ   ขาดหลักประกันในเรื่องราคาข้าว   ระบบการเกษตรถูกผูกขาดด้วยทุน   ทั้งเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีราคาแพง ต้องใช้ ยา ปุ๋ย และถูกจัดการเรื่องการตลาดโดยบุคคลฝายนอก  ต้องปลูกตามตลาด แต่ถ้าหากปลูกนอกเหนือจากที่บอกก็ไม่มีที่ขายส่งผลให้ขาดทุนหมุนเวียน   รวมถึงความรู้เรื่องวิชาการ และภาคปฏิบัติที่ยังไม่ต่อเนื่อง   อีกทั้งหน่วยงานรัฐเป็นผู้ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเสียเอง อาทิ บริษัทธกส.สนับสนุนเรื่องปุ๋ย โดยให้เครดิต ๕ เดือนไม่มีดอกเบี้ย เป็นต้น   ซึ่งในอดีตใช้วีถีวัฒนธรรมเรื่องการรักษาดิน  แต่ปัจจุบันใช้ปุ๋ยเคมี  ทำให้ดินเสีย   ข้าวมีสารพิษ (ยาฆ่าแมลง  ยาปู ยาหอย)ผลผลิตไม่มีคุณภาพ   อีกทั้งมีส่งเสริมเรื่องการปลูกถั่ว แต่ถั่วไม่โตเพราะถูกตัดต่อโดยบังคับให้ต้องใช้ปุ๋ยของพ่อค้า
            ตำบลดอยงาม มีแหล่งน้ำที่หลากหลาย แต่ความเป็นจริงคือ น้ำลดลงไม่พอ   ผลผลิตไม่ดี   อากาศร้อน   ฝนตกไม่พอ  ไม่สามารถเรียกร้องได้เนื่องจากไม่มีที่กักเก็บน้ำ    รวมถึงน้ำเน่าเสีย มีวัชพืชในน้ำมีมากขึ้น เช่น ผักตบชวามาก   ซึ่งไหลมาตามลำน้ำสัตว์น้ำลดลงเนื่องจากสารพิษเคมี
            ตำบลดอยงาม มีกลุ่มอาชีพที่หลากหลายแต่สิ้นค้าชุมชนมีราคาถูก  มีการเรียนแบบกันทำ  แต่ไม่มีกำไร  ไม่มีเการออกแบบใหม่ ๆ  รวมทั้งหากมีการผลิตที่ดีขึ้นทำสวย ราคาแพง   กลับขายยาก แต่ชาวบ้านต้องกินทุกวัน  เช่น กรณีกลุ่มเย็บพรมเช็ดเท้า  ผ้าเศษก็ราคาแพงขึ้น  แต่ราคาขายสินค้าเท่าเดิมเท่าเดิม   มีคนรับซื้อแต่ถูกกดราคา  และต้องซื้ออุปกรณ์ทุกอย่างจากผู้รับซื้อ   ไม่คุ้มค่า  รวมถึงผลกระทบเรื่องสุขภาพ  ฝุ่นผ้า จากการผลิตพรมเช็ดเท้า
            ด้านสุขภาพ  คนในพื้นที่ตำบลดอยงามเป็นโรค  ความดัน   เบาหวาน   มะเร็งมากขึ้น  เนื่องจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม   อาทิ สุขภาพของคนในพื้นที่มีสารตกค้างในร่างกายในคน   ๑๐๐ คน ผ่านแค่ ๒ คน  อีก ๙๘ คนมีการตรวจสารพิษเคมีในเลือด
            จากสถานการณ์ต่าง ๆ พบว่า รายจ่ายของคนในตำบลดอยงามส่วนใหญ่มากกว่ารายรับ  เนื่องจากปัจจุบันมีช่องทางการจ่ายที่มากขึ้น อาทิ ค่านิยมในการซื้อบริโภคทุกอย่าง  แทนการห่อข้าวการศึกษาของบุตรหลานค่าโทรศัพท์  ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าหวยค่าไฟฟ้า  ค่าน้ำ  ค่าแก๊ส  ภาษีสังคมอีกทั้งของอำนวยความสะดวกก็มากขึ้นส่งผลให้เกิดหนี้ค่าใช้จ่ายในครอบครัว 
การดำเนินการตามแผนงาน/กิจกรรมโครงการทุกกิจกรรม และมีการเชื่อมโยงกับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • การรเชื่อมโยงกับกรมการข้าวจังหวัดเชียงรายในการทำเมล็ดพันธ์ข้าวการทำแปลงสาธิตการทำแปลงเกษตรการทำแปลงขยายพันธุ์
  • การเชื่อมโยงกับโครงการแผนดินธรรมแผ่นดินทองในการส่งเสริมเรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัย / การอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นบ้าน
  • การเชื่อมโยงกับโครงการวิถีสุขภาพในการส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ทุกครัวเรือน
  •  การเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการให้มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารการรณรงค์ในการบริโภคอาหารที่มีความเสียงต่อสุขภาพลด ละ เลิก   การใส่รสดี การส่งเสริมการทำขนมพื้นบ้าน และ อาหารตามฤดูกาล
  • การเชื่อมโยงกับเกษตรจังหวัด  และกรมพัฒนาที่ดินจังหวัด   ในการส่งเสริมเรื่องการทำปุ๋ยการตั้งกลุ่มปุ๋ยหมัก เพื่อลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมี การทำฮอร์โมน  ยาไร้แมลง  (เปลือกสับประรด)
  • การเชื่อมโยงกับกรมวิชาการการเกษตร ในการเก็บข้อมูลเรื่องการปลูกข้าว (๕ จุด)
  • การเชื่อมโยงกับอบต. เพื่อขอรับการสนับสนุนเรื่องทุนหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพ  ๕ ปี ไม่มีดอกเบี้ย หมู่บ้านละ ๑ แสนบาท ผ่านกระบวนการประชาคมหมู่บ้าน
  • การนำแผนสู่การปฏิบัติ
  • การทำเมล็ดพันธุ์ข้าว  ๕๕  แปลงนำร่อง /  ขยายผล ๑๐ ครอบครัว
  • การเก็บข้อมูลเรื่องต้นทุนการผลิต (เลี้ยงเป็ด  เลี้ยงไก่)
  • การเก็บข้อมูลเรื่องต้นทุนการผลิต (ข้าว)
  • การตั้งกลุ่มในการผลิตข้าว และ การทำสัญญาที่ชัดเจน
  • การเชื่อมโยงการทำงาน   ตรวจดิน  การทำวิจัย   การทำข้อมูล
  • คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการใส่ปุ๋ย ๑ ไร่ ไม่เกิน ๒๕กก.  ทำให้ผลผลิตมีมาก และ ต้นทุนน้อย
  • การเชื่อมโยงเรื่องการปลูกถั่ว
  • คนในชุมชนหันมาปลูกผักกินเองมากขึ้น
  • คนในชุมชนหันมาเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ทุกครัวเรือน
  • เกิดการทำงานกับหน่วยงานที่หลากหลาย

o   กรมการข้าวจังหวัดเชียงราย
o   โครงการแผนดินธรรมแผ่นดินทอง
o   โครงการวิถีสุขภาพ
o   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร
o   เกษตรจังหวัด   ส่งเสริมเรื่องการทำปุ๋ย
o   กรมพัฒนาที่ดินจังหวัด   ส่งเสริมเรื่องการทำปุ๋ย
o   กรมวิชาการการเกษตร เก็บข้อมูลเรื่องการปลูกข้าว (ตำบลละ ๕ จุด)
o   อบต. สนับสนุนเรื่องทุนหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพ  ๕ ปี ไม่มีดอกเบี้ย หมู่บ้านละ ๑ แสนบาท ผ่านกระบวนการประชาคมหมู่บ้าน
เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการทำงานทำให้รู้ปัญหาและสาเหตุของปัญหา  และเกิดแนวทางในการที่จะแก้ไขโดยการลดต้นทุน
o   ส่งเสริมิถีชุมชน อบรมเรื่องการกินผัก การปลูกผัก
o   การเชื่อมโยงการทำงานกับโรงเรียน


พื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน ตำบลบ้านโป่ง ....กับบทเรียนการนำแผ่นสู่การปฏิยัติ"ศูนย์ข้าวชุมชน"


หลักคิด/ความเป็นมา/สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
นายครองศิลป์    ทาวงค์  แลกเปลี่ยนหลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าเนื่องจากคนในพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าว  แต่ไม่มีอำนาจในการต่อรอง  เมล็ดพันธุ์ราคาแพง  มีหน่วยงานให้การสนับสนุน และ มีการทำงานร่วมกัน   
นางเพ็ญพรรณ   วงค์รักษาศิลป์   แลกเปลี่ยน  หลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าสืบเนื่องจากการถอดบทเรียนจากแผนชุมชน มีการสรุปปัญหาของชุมชนว่าชุมชน   ไม่สามารถกำหนดราคาของตนเองได้   มีการช่วยกันหาความคิด ในการแก้ไข  ซึ่งปัจจุบันก็ได้คัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านมั่งมีศรีสุข  ระดับ ๓  หมู่บ้านปิดทองหลังพระ  มีภาคีการทำงานที่หลากหลาย  การวิเคราะห์แผนดิน น้ำ ป่า    การเชื่อมโยงการทำงาน กรมการข้าว  ทำ ๓ ปี การสนับสนุนเรื่องการทำข้าว   ครั้งแรกจำนวน ๘๐ ราย  ในหมู่บ้าน ๒ หมู่บ้าน คือ ม.๒ และ ม.๕  เป็นการหว่านการทำงานงานทั้งหมด  และมีการลงทะเบียน ๓๐ กว่าราย   มีการจ่ายเมล็ดพันธุ์ และมีการรับรองมาตรฐาน GAP  แต่ผ่านการคัดกรองจำนวน  ๒๕  ราย  ซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถผลิตได้จำนวน  ๕๓ ตันต่อปี  และสามารถส่งขายเอง เพราะมีการประชาสัมพันธ์เอง    แต่ก็ปัญหา เพราะชาวบ้านบางคนไม่ทำตามขั้นตอน
นายอุ่นเรือน       มีชัย      แลกเปลี่ยน  หลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่า การทำเรื่องเมล็ดพันธุ์ถึงจะมีราคาแพงแต่ได้เงินช้า  และมีกระบวนการหลายอย่าง   ชาวบ้านจึงหันไปทำข้าวญี่ปุ่นมีราคาประกัน และได้เงินเร็ว 
นางจันจิรา         โปษยานนท์  แลกเปลี่ยนหลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า การข้อมูลเรื่องสุขภาพ สารพิษเคมีในเลือดสูง   คนบริโภคอาหารรส หวาน มัน เค็ม มากดูจากข้อมูลสถิติผู้ป่วยความดัน เบาหวาน     และเหตุที่มาทำเรื่องข้าวเพราะ คนในพื้นที่ซื้อเมล็ดพันธุ์  จากข้างนอกมีราคาแพง   คนในชุมชนต้องลงทุนสูง   เดิมซื้อ ๒๕ กก. ๗๐๐ บาท  แต่เราทำเองซื้อในพื้นที่  มั่นใจ และราคาเพียง  ๔๐๐ กว่าบาท 
นางพรพรรณ      ทาวงค์  แลกเปลี่ยนหลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ตนเองเป็นผู้ประกอบการที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวมาเพื่อจำหน่ายในพื้นที่ 

เดิมทีไปซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากจังหวัดลำปาง   แต่ปัจจุบันพันธุ์ข้าวหายาก   ในพื้นที่สามารถผลิตเองได้ ปัจจุบันจึงรับไปจำหน่ายทั้งในพื้นที่ตำบล อำเภอ และ อำเภออื่น ๆ  เช่น อำเภอเชียงแสน   ซึ่งที่ผ่านมาก็หมดทั้ง ๕๓  ตัน

            นายดวงดี วิชาคำ   แลกเปลี่ยนหลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ตนเองเป็นชาวนาเดิมทีต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวตลอด   จึงคิดที่จะทำเองโดยการเชื่อมประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย  และ ปัจจุบันชาวบ้านเราสามารถที่จะทำงานและดำเนินงานได้เกือบทุกขั้นตอน   ทั้งเรื่องของคุณภาพดินเราก็มาสามารถตรวจได้ด้วยตัวเกษตรกรเอง


พื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนตำบลป่าแดด


พื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนตำบลป่าแดด....กระบวนการจากชุมชน..กับฐานการเกื้อกูล...ธนาคารข้าวเพื่อบริโภคและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อการผลิตโดยชุมชน เพื่อชุมชน......เมล็ดข้าวหอมพันธุ์ดี ของดีอำเภอป่าแดด..



วิธีการทำงานเศรษฐกิจและทุนชุมชนของพื้นที่ทั้งตำบล
พื้นที่ตำบลป่าแดด วิธีการทำงานเศรษฐกิจและทุนชุมชนของพื้นที่ทั้งตำบล  โดยแบ่งแผนเป็น ๑ กิจกรรมด้วยกัน  ประกอบด้วย   ๑) มีจัดประชุมประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล เพื่อสร้างความเข้าใจ และ ออกแบบกระบวนการในการพัฒนาเศรษฐกิจและชุมชน  ๒) เวทีระดมความคิดเห็นวิเคราะห์ชุมชนกำหนดแผนพัฒนาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและชุมชน ระดับตำบล  ๓) จัดทำแผนพัฒนาตำบลด้านเศรษฐกิจ   และ   การสร้างทุนในการประกอบอาชีพระดับตำบล   ๔) ฝึกอบรมพัฒนาทักษะร่วมระดับตำบลสร้างรูปธรรมพัฒนาเศรษฐกิจและชุมชน  ๕) การจัดเวทีประชาคมรับรองแผน   ๖) สรุปบทเรียนการดำเนินงาน (ถอดองค์ความรู้ชุดประสบการณ์) ระดับตำบลจังหวัด   โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน ทุกระดับ

พื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน...บทเรียนพื้นที่ใจกลางเมืองเชียงราย..

พื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน...บทเรียนพื้นที่ใจกลางเมืองเชียงราย..กับความหลากหลายทางด้านอาชีพ และทุนทางวัฒรธรรม นำสู่การพัฒนาแผนเศรษฐกิจอละทุนชุมชน 3 แผนที่เชื่อมโยงกัน สืบสานวัฒนธรรมกับการท่องเทียว เกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัย สร้างรายได้ให้กลุ่มอาชีพในชุมชน)

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายฯ

วันที่ 22 กรฎาคม 2555  เครือข่านสภาองค์กรชุมชน ตำบลแม่ไร่  ได้จัดเวทีประชุมสภา ฯ ครั้งที่ 1/2555 และ จัดเวทีสร้างความเข้าใจและเชื่อมโยงภาคีในพื้นที่ในการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ตำบล ในเวทีมีการแลกเปลี่ยน และมีแผนการพัฒนาร่วมกับท้องถิ่นเบื้องต้นในการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ตำบล

เวทีลุ่มน้ำ

วันที่ 31 กรกฎาคม 2555 เครือข่าย/คระกรรมการการจัดการภัยพิบัติ ต.แม่ไร่   ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายลุ่มน้ำ  โดยจัดที่  เทศบาลตำบลจันจว้า อ.แม่จัน จ.เชียงราย  มีผู้เข้าร่วมกว่า 30 คน

เวทีร่วมกรทำงานการจัดการภัยพิบัติ จ.เชียงราย

วันที่ 9 สิงหาคม 2555  คณะทำงานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน ตำบลแม่ไร่  และ คณะกรรมการเหมืองฝาย ตำบลแม่ไร่   ร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์การทำงานระดับจังหวัดในการทำแผนงานการจัดการปัญหา และ ปฏิบัติการการทำงานในพื้นที่ประสบภัยพิบัติจังหวัดเชียงราย ซึ่งประกอบด้วย  พื้นที่นำร่อง 5 ตำบล คือ ต.ท่าก๊อ  ต.วาวี  ต.ศรีดอนมูล  ต.จันจว้า และ ต.แม่ไร่  รวม 15 คน ณ สมาคมประชาสัมคมเพื่อการพัฒนา