" การฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น และการบูณาการทุนชุมชน"

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน ตำบลบ้านโป่ง ....กับบทเรียนการนำแผ่นสู่การปฏิยัติ"ศูนย์ข้าวชุมชน"


หลักคิด/ความเป็นมา/สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
นายครองศิลป์    ทาวงค์  แลกเปลี่ยนหลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าเนื่องจากคนในพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าว  แต่ไม่มีอำนาจในการต่อรอง  เมล็ดพันธุ์ราคาแพง  มีหน่วยงานให้การสนับสนุน และ มีการทำงานร่วมกัน   
นางเพ็ญพรรณ   วงค์รักษาศิลป์   แลกเปลี่ยน  หลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าสืบเนื่องจากการถอดบทเรียนจากแผนชุมชน มีการสรุปปัญหาของชุมชนว่าชุมชน   ไม่สามารถกำหนดราคาของตนเองได้   มีการช่วยกันหาความคิด ในการแก้ไข  ซึ่งปัจจุบันก็ได้คัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านมั่งมีศรีสุข  ระดับ ๓  หมู่บ้านปิดทองหลังพระ  มีภาคีการทำงานที่หลากหลาย  การวิเคราะห์แผนดิน น้ำ ป่า    การเชื่อมโยงการทำงาน กรมการข้าว  ทำ ๓ ปี การสนับสนุนเรื่องการทำข้าว   ครั้งแรกจำนวน ๘๐ ราย  ในหมู่บ้าน ๒ หมู่บ้าน คือ ม.๒ และ ม.๕  เป็นการหว่านการทำงานงานทั้งหมด  และมีการลงทะเบียน ๓๐ กว่าราย   มีการจ่ายเมล็ดพันธุ์ และมีการรับรองมาตรฐาน GAP  แต่ผ่านการคัดกรองจำนวน  ๒๕  ราย  ซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถผลิตได้จำนวน  ๕๓ ตันต่อปี  และสามารถส่งขายเอง เพราะมีการประชาสัมพันธ์เอง    แต่ก็ปัญหา เพราะชาวบ้านบางคนไม่ทำตามขั้นตอน
นายอุ่นเรือน       มีชัย      แลกเปลี่ยน  หลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่า การทำเรื่องเมล็ดพันธุ์ถึงจะมีราคาแพงแต่ได้เงินช้า  และมีกระบวนการหลายอย่าง   ชาวบ้านจึงหันไปทำข้าวญี่ปุ่นมีราคาประกัน และได้เงินเร็ว 
นางจันจิรา         โปษยานนท์  แลกเปลี่ยนหลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า การข้อมูลเรื่องสุขภาพ สารพิษเคมีในเลือดสูง   คนบริโภคอาหารรส หวาน มัน เค็ม มากดูจากข้อมูลสถิติผู้ป่วยความดัน เบาหวาน     และเหตุที่มาทำเรื่องข้าวเพราะ คนในพื้นที่ซื้อเมล็ดพันธุ์  จากข้างนอกมีราคาแพง   คนในชุมชนต้องลงทุนสูง   เดิมซื้อ ๒๕ กก. ๗๐๐ บาท  แต่เราทำเองซื้อในพื้นที่  มั่นใจ และราคาเพียง  ๔๐๐ กว่าบาท 
นางพรพรรณ      ทาวงค์  แลกเปลี่ยนหลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ตนเองเป็นผู้ประกอบการที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวมาเพื่อจำหน่ายในพื้นที่ 

เดิมทีไปซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากจังหวัดลำปาง   แต่ปัจจุบันพันธุ์ข้าวหายาก   ในพื้นที่สามารถผลิตเองได้ ปัจจุบันจึงรับไปจำหน่ายทั้งในพื้นที่ตำบล อำเภอ และ อำเภออื่น ๆ  เช่น อำเภอเชียงแสน   ซึ่งที่ผ่านมาก็หมดทั้ง ๕๓  ตัน

            นายดวงดี วิชาคำ   แลกเปลี่ยนหลักคิดความเป็นมาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ตนเองเป็นชาวนาเดิมทีต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวตลอด   จึงคิดที่จะทำเองโดยการเชื่อมประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ มากมาย  และ ปัจจุบันชาวบ้านเราสามารถที่จะทำงานและดำเนินงานได้เกือบทุกขั้นตอน   ทั้งเรื่องของคุณภาพดินเราก็มาสามารถตรวจได้ด้วยตัวเกษตรกรเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น