" การฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น และการบูณาการทุนชุมชน"

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน ตำบลดอยงาม...กับบทเรียนและองค์ความรู้ที่ได้รับ


หลักคิด/ความเป็นมา/สถานการณ์ที่เกิดขึ้น
            ตำบลดอยงามมีอาชีพหลักคือการทำการเกษตร   ทำนาข้าว พริกแด้ปลา   ลำไย  แต่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปสังคมเป็นสังคมมี่ต้องคำนึงปากท้องเป็นหลัก  เร่งรีบรวมถึงคนเราชอบความสบาย  มีค่านิยมเรื่องความรวดเร็วของผลผลิตและ  หวังความรวดเร็วต้นทุนทางการผลิตสูง  แต่ราคาตกต่ำ   ขาดหลักประกันในเรื่องราคาข้าว   ระบบการเกษตรถูกผูกขาดด้วยทุน   ทั้งเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีราคาแพง ต้องใช้ ยา ปุ๋ย และถูกจัดการเรื่องการตลาดโดยบุคคลฝายนอก  ต้องปลูกตามตลาด แต่ถ้าหากปลูกนอกเหนือจากที่บอกก็ไม่มีที่ขายส่งผลให้ขาดทุนหมุนเวียน   รวมถึงความรู้เรื่องวิชาการ และภาคปฏิบัติที่ยังไม่ต่อเนื่อง   อีกทั้งหน่วยงานรัฐเป็นผู้ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเสียเอง อาทิ บริษัทธกส.สนับสนุนเรื่องปุ๋ย โดยให้เครดิต ๕ เดือนไม่มีดอกเบี้ย เป็นต้น   ซึ่งในอดีตใช้วีถีวัฒนธรรมเรื่องการรักษาดิน  แต่ปัจจุบันใช้ปุ๋ยเคมี  ทำให้ดินเสีย   ข้าวมีสารพิษ (ยาฆ่าแมลง  ยาปู ยาหอย)ผลผลิตไม่มีคุณภาพ   อีกทั้งมีส่งเสริมเรื่องการปลูกถั่ว แต่ถั่วไม่โตเพราะถูกตัดต่อโดยบังคับให้ต้องใช้ปุ๋ยของพ่อค้า
            ตำบลดอยงาม มีแหล่งน้ำที่หลากหลาย แต่ความเป็นจริงคือ น้ำลดลงไม่พอ   ผลผลิตไม่ดี   อากาศร้อน   ฝนตกไม่พอ  ไม่สามารถเรียกร้องได้เนื่องจากไม่มีที่กักเก็บน้ำ    รวมถึงน้ำเน่าเสีย มีวัชพืชในน้ำมีมากขึ้น เช่น ผักตบชวามาก   ซึ่งไหลมาตามลำน้ำสัตว์น้ำลดลงเนื่องจากสารพิษเคมี
            ตำบลดอยงาม มีกลุ่มอาชีพที่หลากหลายแต่สิ้นค้าชุมชนมีราคาถูก  มีการเรียนแบบกันทำ  แต่ไม่มีกำไร  ไม่มีเการออกแบบใหม่ ๆ  รวมทั้งหากมีการผลิตที่ดีขึ้นทำสวย ราคาแพง   กลับขายยาก แต่ชาวบ้านต้องกินทุกวัน  เช่น กรณีกลุ่มเย็บพรมเช็ดเท้า  ผ้าเศษก็ราคาแพงขึ้น  แต่ราคาขายสินค้าเท่าเดิมเท่าเดิม   มีคนรับซื้อแต่ถูกกดราคา  และต้องซื้ออุปกรณ์ทุกอย่างจากผู้รับซื้อ   ไม่คุ้มค่า  รวมถึงผลกระทบเรื่องสุขภาพ  ฝุ่นผ้า จากการผลิตพรมเช็ดเท้า
            ด้านสุขภาพ  คนในพื้นที่ตำบลดอยงามเป็นโรค  ความดัน   เบาหวาน   มะเร็งมากขึ้น  เนื่องจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม   อาทิ สุขภาพของคนในพื้นที่มีสารตกค้างในร่างกายในคน   ๑๐๐ คน ผ่านแค่ ๒ คน  อีก ๙๘ คนมีการตรวจสารพิษเคมีในเลือด
            จากสถานการณ์ต่าง ๆ พบว่า รายจ่ายของคนในตำบลดอยงามส่วนใหญ่มากกว่ารายรับ  เนื่องจากปัจจุบันมีช่องทางการจ่ายที่มากขึ้น อาทิ ค่านิยมในการซื้อบริโภคทุกอย่าง  แทนการห่อข้าวการศึกษาของบุตรหลานค่าโทรศัพท์  ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าหวยค่าไฟฟ้า  ค่าน้ำ  ค่าแก๊ส  ภาษีสังคมอีกทั้งของอำนวยความสะดวกก็มากขึ้นส่งผลให้เกิดหนี้ค่าใช้จ่ายในครอบครัว 
การดำเนินการตามแผนงาน/กิจกรรมโครงการทุกกิจกรรม และมีการเชื่อมโยงกับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • การรเชื่อมโยงกับกรมการข้าวจังหวัดเชียงรายในการทำเมล็ดพันธ์ข้าวการทำแปลงสาธิตการทำแปลงเกษตรการทำแปลงขยายพันธุ์
  • การเชื่อมโยงกับโครงการแผนดินธรรมแผ่นดินทองในการส่งเสริมเรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัย / การอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นบ้าน
  • การเชื่อมโยงกับโครงการวิถีสุขภาพในการส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ทุกครัวเรือน
  •  การเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการให้มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารการรณรงค์ในการบริโภคอาหารที่มีความเสียงต่อสุขภาพลด ละ เลิก   การใส่รสดี การส่งเสริมการทำขนมพื้นบ้าน และ อาหารตามฤดูกาล
  • การเชื่อมโยงกับเกษตรจังหวัด  และกรมพัฒนาที่ดินจังหวัด   ในการส่งเสริมเรื่องการทำปุ๋ยการตั้งกลุ่มปุ๋ยหมัก เพื่อลดต้นทุนและลดการใช้สารเคมี การทำฮอร์โมน  ยาไร้แมลง  (เปลือกสับประรด)
  • การเชื่อมโยงกับกรมวิชาการการเกษตร ในการเก็บข้อมูลเรื่องการปลูกข้าว (๕ จุด)
  • การเชื่อมโยงกับอบต. เพื่อขอรับการสนับสนุนเรื่องทุนหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพ  ๕ ปี ไม่มีดอกเบี้ย หมู่บ้านละ ๑ แสนบาท ผ่านกระบวนการประชาคมหมู่บ้าน
  • การนำแผนสู่การปฏิบัติ
  • การทำเมล็ดพันธุ์ข้าว  ๕๕  แปลงนำร่อง /  ขยายผล ๑๐ ครอบครัว
  • การเก็บข้อมูลเรื่องต้นทุนการผลิต (เลี้ยงเป็ด  เลี้ยงไก่)
  • การเก็บข้อมูลเรื่องต้นทุนการผลิต (ข้าว)
  • การตั้งกลุ่มในการผลิตข้าว และ การทำสัญญาที่ชัดเจน
  • การเชื่อมโยงการทำงาน   ตรวจดิน  การทำวิจัย   การทำข้อมูล
  • คนในชุมชนมีความรู้เรื่องการใส่ปุ๋ย ๑ ไร่ ไม่เกิน ๒๕กก.  ทำให้ผลผลิตมีมาก และ ต้นทุนน้อย
  • การเชื่อมโยงเรื่องการปลูกถั่ว
  • คนในชุมชนหันมาปลูกผักกินเองมากขึ้น
  • คนในชุมชนหันมาเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ทุกครัวเรือน
  • เกิดการทำงานกับหน่วยงานที่หลากหลาย

o   กรมการข้าวจังหวัดเชียงราย
o   โครงการแผนดินธรรมแผ่นดินทอง
o   โครงการวิถีสุขภาพ
o   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร
o   เกษตรจังหวัด   ส่งเสริมเรื่องการทำปุ๋ย
o   กรมพัฒนาที่ดินจังหวัด   ส่งเสริมเรื่องการทำปุ๋ย
o   กรมวิชาการการเกษตร เก็บข้อมูลเรื่องการปลูกข้าว (ตำบลละ ๕ จุด)
o   อบต. สนับสนุนเรื่องทุนหมุนเวียนเพื่อการประกอบอาชีพ  ๕ ปี ไม่มีดอกเบี้ย หมู่บ้านละ ๑ แสนบาท ผ่านกระบวนการประชาคมหมู่บ้าน
เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการทำงานทำให้รู้ปัญหาและสาเหตุของปัญหา  และเกิดแนวทางในการที่จะแก้ไขโดยการลดต้นทุน
o   ส่งเสริมิถีชุมชน อบรมเรื่องการกินผัก การปลูกผัก
o   การเชื่อมโยงการทำงานกับโรงเรียน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น